สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน วันนี้ทาง ข่าวสารไทย มีข่าวสารมาแจ้งให้ท่านทราบอีกแล้วครับ เรื่องนี้สำคัญมากครับ เกี่ยวกับ ผู้ประกันตน ม.33-ม.39-ม.40 ที่จะได้รับเงินเยียวยา ตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาท โดยการที่จะได้รับเงินนั้น ท่านผู้หรือไม่ว่า สามารถรับเงินในช่องทางเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ รับเงินโอนเข้าพร้อมเพย์ หากใครที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ ก็ขอให้รีบเลยครับ เรามาดูรายละเอียดกันครับว่า ต้องดำเนินการอย่างไร
ผู้ประกันตนมาตรา 33
ประกันสังคมจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.33 จำนวน 50% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และรัฐบาลจ่ายเพิ่มเติมให้ลูกจ้างสัญชาติไทย 2,500 บาทต่อคน ทำให้จะได้รับเงินสูงสุด 10,000 บาทต่อคน
รัฐบาลจ่ายให้นายจ้างในระบบประกันสังคม ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อหัว สูงสุดไม่เกิน 200 คน โดยนายจ้างจะเป็นผู้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาด้วยการนำส่งข้อมูลเงินสมทบของลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนให้เรียบร้อย
โดยข่าวล่าสุด สำนักงานประกันสังคม ได้ออกประกาศเน้นย้ำนายจ้างบุคคลธรรมดา และผู้ประกันตน มาตรา 33, 39 และ 40 ที่ได้รับการเยียวยา จะได้รับเงินผ่านการโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการโอนเงินเข้าบัญชี
ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนท่านใดยังไม่เคยมีบัญชีที่พร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
สิ่งที่ต้องใช้ลงทะเบียนพร้อมเพย์
– สมุดบัญชีเงินฝาก หรือเลขที่บัญชีเงินฝาก แต่ต้องเป็นชื่อเราเท่านั้น
– เลขบัตรประจำตัวประชาชน
วิธีสมัครพร้อมเพย์
นำเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ไปผูกกับบัญชีเงินฝากธนาคารใดก็ได้ โดยแต่ละธนาคารจะมีวิธีการแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะสามารถลงทะเบียนได้ตามช่องทางต่อไปนี้
– ตู้ ATM
– แอปพลิเคชัน Mobile Banking
– ธนาคารทุกสาขา
– เว็บไซต์ธนาคาร
เช็กสิทธิ์เงินเยียวยาโควิด 19 ม.33
สำหรับการเช็กสิทธิ์เงินเยียวยาโควิด 19 ประกันสังคม ม.33 ตรวจสอบสิทธิ์สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ว่าได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ สามารถทำได้ผ่านทางเว็บไซต์ประกันสังคม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิธีเช็กสิทธิ์เงินเยียวยาโควิด 19 กลุ่มประกันสังคม ม.33
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการระบาดเมื่อต้นปี 2563 ได้มีมาตรการต่าง ๆ ในส่วนของ ประกันสังคม เยียวยาโควิด ออกมาเป็นระยะเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 39 40 ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินชดเชยกรณีเงินว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ถูกเลิกจ้าง ตกงาน ลาออก รวมถึงการปรับลดเงินสมทบประกันสังคม จนมาถึงการจ่ายเงินเยียวยาจากคำสั่งล็อกดาวน์รอบล่าสุด
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน