สิทธิประโยชน์ ประกันสังคม มาตรา 40
สวัสดีครับ จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติมาตรการเยียวยาโควิด ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด โดยล่าสุด ทาง ครม. ได้มีการอนุมัติ เพื่อการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตน และอาชีพอิสระ 10 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคุมเข้ม CV 19
ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ท่านรู้หรือไม่ว่า สามารถรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องสมัครให้อยู่ในประกันสังคม มาตรา 40 ก่อนซึ่ง จะมีวิธีการอย่างไร สรุปให้เข้าใจง่ายๆ กันครับ
13 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปทุมธานี จังหวัดปัตตานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร
โดยให้ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบลงทะเบียนที่สำนักงานประกันสังคม หรือ ลงทะเบียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ www.sso.go.th
ในส่วนของผู้ประกันตนมาตรา 40 กลุ่มผู้ทำอาชีพอิสระหรือเป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งจะได้รับสิทธิความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์จากการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม จะได้รับความช่วยเหลือ 5,000 บาทจากรัฐบาล
โดยกลุ่มอาชีพอิสระที่ยังไม่เข้าสู่ระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมเปิดช่องกำหนดให้ต้องยื่นหลักฐานการเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับเงินเยียวยาล่าสุดจำนวน 5000 บาท
คุณสมบัติของผู้ประกันตนม.40
-สัญชาติไทย
-ประกอบอาชีพอิสระ หรือ แรงงานนอกระบบ
-มีอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
-ไม่เคยเป็นพนักงานลูกจ้างในระบบประกันสังคมม.33 และ ม.39 มาก่อน
-ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
-ผู้ที่ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย 00)
-ผู้พิการที่รับรู้สิทธิสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนม.40 ได้
ช่องทางสมัครมาตรา 40
-เว็บไซต์ www.sso.go.th
-เคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา
-ธนาคาร ธกส.ทุกสาขา
-เครือข่ายประกันสังคม ทั่วประเทศ
-บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
-สายด่วนประกันสังคม 1506
เลือกจ่ายเงินสมทบ 3 ทางเลือก ได้แก่
-70 บาท/เดือน
-100 บาท/เดือน
-300 บาท/เดือน
สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนมาตรา 40
วิธีรับเงินประโยชน์ทดแทน
-ณ สำนักงานประกันสังคม
-ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)
-โอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ทางเลือกที่ 1 และ 2
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
(1) นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
(2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท
(3) ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง ต่อปี
*ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี
ทางเลือกที่ 3
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
(1) นอนพักรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท
(2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
วันละ 200 บาท
*ภายใน 1 ปี รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 90 วัน
หมายเหตุ :สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่
<
กรณีทุพพลภาพ
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือนใน 10 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท
จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือนใน 20 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท
จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24 เดือนใน 40 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท
จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือนใน 60 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท
ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท
ทางเลือกที่ 3
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน ตลอดชีวิต
*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท
กรณีตาย
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุ
หากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย
ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2
ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท จ่ายให้กับผู้จัดการศพ
ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 8,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย
ทางเลือกที่ 3
ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท ก่อนเดือนที่ตาย จ่ายให้กับผู้จัดการศพ
กรณีชราภาพ
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
ทางเลือกที่ 1
-ไม่คุ้มครอง-
ทางเลือกที่ 2
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 50 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวก
เงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
ทางเลือกที่ 3
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 150 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวก เงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
*ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน
กรณีสงเคราะห์บุตร
เงื่อนไขการเกิดสิทธิ
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 24 ใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
*ขณะรับเงินสงเคราะห์บุตร ต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือน
ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2
-ไม่คุ้มครอง-
ทางเลือกที่ 3
ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน บุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์
ที่มา: สำนักงานประกันสังคม